วันพุธที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2562




บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2


วันศุกร์ ที่ 19 มกราคม  2562
เวลา 12:30-16:30
รหัสวิชา
EAED2203 การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

        อาจารย์ได้ให้กระดาษคนละ 1 แผ่น เพื่อที่จะทำ Mapping หัวข้อเรื่อง  การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ก่อนที่จะลงมือทำอาจารย์ได้ให้ทุกคนคิดก่อนว่าสิ่งของในห้องเรียนมีอะไรบ้างที่เป็นคณิตศาสตร์ บอกคนละ 1 อย่าง เช่น ตู้   กระดาน  หน้าต่าง  กล่อง  แอร์  ลูกบาส กรอบรูป  ประตู  กระถางต้นไม้  ซึ่งทุกอย่างในชีวิตประจำวันล้วนเป็นคณิตศาสตร์ 
   หลังจากนั้นได้เข้าสู่การทำ  Mappingการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
มี 3 หัวข้อใหญ่คือ
1.การจัดประสบการณ์
2.คณิตศาสตร์
3.เด็กปฐมวัย  
ความรู้ที่ได้จาก  Mapping
การทำงานของสมอง 
     มีนักทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง คือ เพียเจท์  แบนดรูรา   ซึ่งอาจารย์ได้ยกตัวอย่างของนักทฤษฎีเพียเจท์ กล่าวไว้ว่า  แรกเกิด - 2ปี  เด็กใช้ประสาทสัมผัมทั้ง 5 มากที่สุด เด็กมีพฤติกรรมแบบนี้ต้องการลงมือกระทำกับวัตถุต่างๆ 
เก็บข้อมูล    สมอง      รับรู้ / ซึมซับ
เด็กจะเกิดการเรียนรู้เกิดจากการเปลี่ยนแปลง เพื่อการอยู่รอด
2-5 ปี  เด็กจะสามารถท่องจำไม่หมด แต่สามารถหาข้อมูลได้ จาก
       -หนังสือพัฒนาการของเด็ก
       - หนังสือหลักสูตร
5-7 ปี ประโยค และใช้คำอธิบายได้มากขึ้นกว่าเด็ก2-5 ปี
           วิธีการของเด็ก  ลงมือกระทำโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5 ในการลงมือทำ



ใบงานที่อาจารย์ให้ทำ



คำศัพท์ภาษาอังกฤษ

  1. Mathematics                           คณิตศาสตร์
  2. Geometry                                เรขาคณิต
  3. Calculate                                คำนวณ
  4. Nature                                    ลักษณะ
  5. Brain  function                       การทำงานของสมอง
  6. learning                                  เรียนรู้
  7. Counting                                การนับจำนวน
  8. Absorb                                   ซึมซับ
  9. Sense                                      ประสาทสัมผัส
  10. Behavior                                พฤติกรรม




การประเมิน

ประเมินตนเอง  :   วันนี้อาจารย์ได้พูดถึงการแก้ไขบล็อกของตนเองทำให้เราสามรถแก้ได้ถูกต้อง
ประเมินเพื่อนร่วมห้อง  :  เพื่อนๆทุกคนได้ช่วยกันตอบสิ่งที่อาจารย์ถามและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
ประเมินอาจารย์    :    อาจารย์อธิบายได้ชัดเจนเข้าใจและได้ตั้งคำถามให้นักศึกษาได้รู้จักคิด
















บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่1



วันศุกร์ ที่ 11 มกราคม  2562
เวลา 12:30-16:30
รหัสวิชา
EAED2203 การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

สำหรับในวันนี้อาจารย์ได้มอบหมายงานซึ่งให้นักศึกษาสร้าง BLOGGER 
เป็นของตนเองในรายวิชานี้และอาจารย์ได้บอกถึงองค์ประกอบของ BLOGGER มีดังนี้
   1.ชื่อและคำอธิบายบล็อก
   2.รูปและข้อมูผู้เรียน
   3.ปฎิทินและนาฬิกา
อาจารย์ได้ให้เราไปค้นคว้าหาข้อมูล
- งานวิจัยเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
- บทความเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
- สื่อ การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย
 - ตัวอย่างการสอน






 


สรุปสื่อ


สื่อส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


  • สื่อชุดนี้ชื่อว่ากระดานกระดุมนับจำนวน

โดยมีกระดานซึ่งมีตัวเลข1-10อยู่ด้วยกันจำนวน10แถว
และก็มีกระดุมเป็นหมากที่ใช้ในการเล่นกับสื่อชุดนี้
วีธีการเล่นได้ออกแบบอย่างหลากหลายโดยการเล่นนั้นให้เด็ก
นำกระดุมสีที่ชอบสีไหนก่อนก็ได้
ให้นำไปวางเรียงเป็นแถวขึ้นไป เรียงตามจำนวนที่เด็กต้องการ
วางไปเรื่อยให้เด็กเลือกวางสีเหมือนกันในแต่ล่ะเเถว
และให้เด็กๆสังเกตุว่าแต่ละแถวมีกระดุมกี่เม็ด
ถ้าเด็กบอกไม่ได้ให้เด็กสามารถ
เอากระดุมออกแล้วดูตัวเลขได้


                    1                                                 2                                          3
                                                                                                                              











สรุปตัวอย่างการสอน



คือการใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ โดยเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับวัตถุสิ่งของ
หรือเหตุการณ์อย่างมีจุประสงค์ เช่น การจะหาข้อมูลที่เป็นรายละเอียดของสิ่งนั้น ๆ
ความสามารถในการแบ่งประเภทของสิ่งของ โดยหาเกณฑ์หรือสร้างเกณฑ์ในการแบ่งขึ้น
ส่วนใหญ่เด็กจะใช้เกณฑ์ในการจำแนกอยู่ 3 อย่าง คือ ความเหมือน ความแตกต่าง
 และความสัมพันธ์ร่วม ซึ่งแล้วแต่เด็กจะเลือกใช้ซึ่งเด็กปฐมวัยส่วนใหญ่จะเลือกใช้เกณฑ์ 2 อย่าง
 คือ ความเหมือน และความต่าง เมื่อเด็กสามารถสร้างความเข้าใจได้อย่างถ่องแท้เกี่ยวกับ
ความสัมพันธ์แล้วเด็กจึงจะจำแนกโดยใช้ความสัมพันธ์ร่วมได้การส่งเสริมให้เด็กได้
พัฒนาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการจัดลำดับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์ ซึ่งเป็นทักษะการเปรียบขั้นสูง
 เพราะจะต้องอาศัยการเปรียบเทียบสิ่งของมากกว่าสองสิ่งหรือสองกลุ่ม การจัดลำดับในครั้งแรก ๆ
ของเด็กปฐมวัยจะเป็นไปในลักษณะการจัดกระทำกับสิ่งของสองสิ่ง
เมื่อเกิดการพัฒนาจนเกิความเข้าใจอย่างถ่องแท้แล้วเด็กจึงจะสามารถจัดลำดับที่ยากยิ่งขึ้นได้










สรุปวิจัย


วัตถุประสงค์
1.เพื่อศึกษาผลของการจัดกิจกรรมประกอบอาหารที่มีต่อทักษะ
พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
2.เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวมและ
รายด้านของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร
สมมติฐานในการวิจัย
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารจะมีทักษะ
พื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวมแลพรายด้านหลังการทดลองสูงกว่าก่อนทดลอง
ขอบเขตของการวิจัย
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
 1.ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุระหว่าง 3-4ปี ที่ 
กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่1
ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา2553โรงเรียนมิตรภาพที่34 อำเภอบ้านแหลม
 จังหวัดเพชรบุรี จำนวน1 ห้องเรียน ทั้งหมด30คน
2.กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นเป็นเด็กปฐมวัยชาย-หญิง
 อายุระหว่าง 3-4ปี ที่ กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่1ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา2553
โรงเรียนมิตรภาพที่34 อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี จำนวน15คน
ซึ่งได้มาโดยวิธีการคัดเลือกเด็กที่มีคะแนนทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ค่อนข้างต่ำจากแบบวัดที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
3.ตัวแปรที่ศึกษา
3.1 ตัวแปรต้น ได้แก่ การจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร
3.2ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะทางคณิตศาสตร์
4. ระยะเวลาในการทดลอง
การทดลองครั้งนี้กระทำในภาคเรียนที1 ปีการศึกษา2553 ใช้เวลาในการทดลอง6สัปดาห์ สัปดาห์ละ3วันๆละ30นาที
ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย
1.ทำให้ครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาปฐมวัยได้ตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมในชีวิตประจำวันของเด็ก
2.ได้รูปแบบการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ









วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2562




สรุปบทความ


บทความคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

การเรียนรู้คณิตศาสตร์ของลูกไม่ใช่แค่ท่องจำตัวเลข
1 2 3 4…10 หรือ 1 + 1 = 2 เท่านั้น แต่คณิตศาสตร์ คือการเรียนรู้เรื่องอื่นๆ
เมื่อเขาเติบโตขึ้น รู้จัก Mathematic ทุกวันนี้หมดยุคท่องจำ
 หรือมุ่งการเรียนรู้เฉพาะเรื่องจำนวนและตัวเลขแล้วค่ะ
เพราะว่าคณิตศาสตร์สามารถเรียนรู้ได้ง่ายๆ จากการใช้ชีวิตประจำวัน
เช่น การเล่นกับลูก ไปเที่ยว หรือจากสิ่งแวดล้อมรอบตัว
เช่น นับต้นไม้ ใบไม้ ซึ่งมีทั้งการนับ ขนาด ปริมาณ น้ำหนัก
การเปรียบเทียบ เรียนรู้เวลา และอื่นๆ มากมาย
ที่สำคัญทุกสาขาอาชีพก็ต้องล้วนเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ไม่ว่าจะ
เป็นวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ บัญชี เทคโนโลยี การเมือง การปกครอง การทำนา 
ล้วนมีคณิตศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องทั้งสิ้น
ตั้งแต่แรกเกิดค่ะ ขวบปีแรก ลูกสามารถสร้างพื้นฐานทาง
คณิตได้ก่อนที่จะบวกหรือลบเป็นเสียอีก เขาสามารถ
เชื่อมโยงความคิดกับตัวเลขด้วยการตีความง่ายๆ
 เรียนรู้ว่ามีจมูกหนึ่งจมูก มีตาสองตา รู้จังหวะเคลื่อนไหวจากการคลาน
ซึ่งความสามารถทางคณิตศาสตร์ของลูกถูกพัฒนาด้วยการกระตุ้นหรือ
การมีปฏิสัมพันธ์กับพ่อแม่ คนรอบข้างและสิ่งแวดล้อมรอบตัว
สิ่งเหล่านี้จึงเป็นบันไดสำคัญที่จะพัฒนาไปสู่การเรียนรู้คณิตศาสตร์
ของเจ้าตัวเล็กในช่วงวัยต่อไปค่ะ ขวบปีที่สอง เรียนรู้สิ่งที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น
สามารถจัดประเภทสิ่งของได้ทำให้ลูกเข้าใจจำนวน ตัวเลข รู้จักนับนิ้วมือ
1 2 3 เรียนรู้ความแตกต่างของรูปทรง การจับคู่ รู้จักการใช้เหตุผล
 มีจินตนาการและเห็นการเชื่อมโยงของสิ่งหนึ่งกับอีกสิ่งหนึ่ง
เช่น เมื่อตีกลองเขารู้ว่าจะต้องมีเสียงดัง สิ่งเหล่านี้พ่อแม่ต้อง
กระตุ้นลูกบ่อยๆ จะทำให้เขาเข้าใจความหมายและรู้จักนำจินตนาการ

มาใช้ได้ดีขึ้น ขวบปีที่สาม ลูกจะเห็นการจับคู่เป็นเรื่องง่ายแล้วค่ะ
วัยนี้จึงควรจัดกิจกรรมให้เด็กๆ ได้ใช้ทั้งความคิด ความมีเหตุผล
และเห็นการเชื่อมโยงกันให้มากขึ้น เช่น ลูกมีตุ๊กตากี่ตัวจ๊ะ
ลูกต้องการรถกี่คัน หรืออาจจะให้ลูกช่วยจัดโต๊ะอาหาร ให้อาหารสัตว์
หรือไปซื้อของ ลูกจะได้เรียนรู้ การจัดหมวดหมู่ การเปรียบเทียบ
การจัดวาง เป็นต้น
หลายสิ่งหลายอย่างสามารถอธิบายให้เข้าใจได้ด้วยคณิตศาสตร์
เรียนรู้การนับและจำนวน ฝึกให้ลูกรู้จุกการนับจากชีวิตประจำวันขณะกิน
เล่น เล่านิทาน เช่น การนับนิ้วมือ ช่วงแรกให้นับ 1-5 ก่อน แล้วเพิ่มเป็น
10 จากนั้นจึงค่อยเชื่อมโยงไปสู่ตัวเลขที่เป็นรูปธรรมเพื่อให้ลูกเห็นจำนวนที่
แท้จริงมากขึ้น ซึ่งนอกจากลูกจะได้เรียนรู้การนับแล้ว
ยังได้เรียนรู้สรรพนามที่ใช้เรียกคน สัตว์ สิ่งของ และผลไม้ต่างๆ