วันอังคารที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2562







บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9

วันศุกร์ ที่   15 มีนาคม 2562
 เวลา 12:30-16:30


 รหัสวิชา  EAED2203 การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


วันนี้อาจารย์ได้แจ้งให้ตัวแทนมาเบิกของที่อาจารย์ เพื่อนำไปทำสื่อเพิ่มเติม และให้ทำสื่อของตัวเองให้เสร็จ และนัดมายให้ส่งวันศุกร์ ที่ 22 มีนาคม ในเวลาเรียน

 เกมส์  บิงโก 


วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้เด็กเรียนรู้ในเรื่องของตำแหน่งและจำนวน จากการสังเกต
2 .เพื่อให้เด็กเกิดพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา
3.เพื่อให้เด็กได้รู้จักสังเกตของสิ่งต่างๆ

ประโยชน์

ด้านร่างกาย : เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสระหว่างมือกับตา และได้ใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กในการหยิบจับ
ด้านอารมณ์-จิตใจ : เด็กรู้สึกกับการเล่นสื่อสนุกสนานและเพลิดเพลินกับการเล่นสื่อวัสดุเหลือใช้
สังคม : เด็กจะรู้จักการเล่นโดยเป็นสื่อวัสดุและสิ่งของเหลือใช้อย่างมีคุณค่าและได้ร่วมสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกับเพื่อนได้มีส่วนร่วมกับผู้อื่น
ด้านสติปัญญา : เด็กได้ทักษะทางการคิดจากการสังเกต ตำแหน่ง จำนวน และสี




วิธีเล่น

1.ให้เด็กสังเกตโจทย์ที่ตัวเองได้รับ
2.ให้เด็กสังเกตฝาสีต่างๆ เพื่อนำไปวางตามโจทย์ที่กำหนด
3.ให้เด็กนำฝาสีต่างๆไปวางตามที่โจทย์กำหนดให้ถูกต้อง

อุปกรณ์


-ฝาขวดน้ำ            -กระดาษแข็ง  : กระดาษสี

-ขวดน้ำ                 -กระดาษหลังภาพ

-กาวลาเท็กซ์          -สติ๊กเกอร์

- สีโปสเตอร์          - คัตเตอร์

-กรรไกร                -ไม้บรรทัด

- ดินสอ                  - ปากกาเคมี



คำศัพท์ภาษาอังกฤษ


1.Poster color  สีโปสเตอร์
2.Scissors       กรรไกร     
3.Cardboard    กระดาษแข็ง 
4.Tool              อุปกรณ์
5.sticker           สติ๊กเกอร์
6.Benefit           ประโยชน์
7.Cutter               คัตเตอร์
8.objective          วัตถุประสงค์
 9.observance      การสังเกต
10.Sense              ประสาทสัมผัส

ประเมิน

ประเมินตนเอง : ตั้งใจทำงานที่รับมอบหมาย
ประเมินเพื่อน : ช่วยเหลือกัน มีความแบ่งปัน
ประเมินอาจารย์ : ให้คำแนะนำในการทำสื่อ








บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8



วันพุธ ที่   13  มีนาคม 2562
 เวลา  8:30-12.30


 รหัสวิชา  EAED2203 การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

วันนี้อาจารย์ได้นัดหมายทั้ง 2 เซค มาเรียนด้วยกันเพื่อแจกสิ่งของ-อุปกรณ์การทำสื่อของแต่ละกลุ่มที่ต้องการ





กลุ่มของฉันมีอุปกรณ์ที่ต้องใช้ คือ.....?

-ฝาขวดน้ำ            -กระดาษแข็ง  : กระดาษสี
-ขวดน้ำ                 -กระดาษหลังภาพ
-กาวลาเท็กซ์          -สติ๊กเกอร์
- สีโปสเตอร์          - คัตเตอร์
-กรรไกร                -ไม้บรรทัด
- ดินสอ                  - ปากกาเคมี

หลังจากทุกกลุ่มได้อุปกรณ์ที่ต้องการให้แต่ละกลุ่มแยกย้ายกันไปทำที่ห้องหรือพื้นที่ในมหาวิทยาลัยได้และในห้องเรียนได้พร้อมทั้งถ่ายรูปเก็บไว้



การประเมิน
ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังที่อาจารย์พูดและบอก ชื่อสิ่งของที่ต้องการ
ประเมินเพื่อน : ช่วยเหลือกัน มีความแบ่งปัน
ประเมินอาจารย์ : ให้คำแนะนำในการทำสื่อ และแจกอุปกรณ์







บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7



วันศุกร์ ที่   8 มีนาคม 2562
 เวลา 12:30-16:30
 รหัสวิชา  EAED2203 การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย





ความรู้ที่ได้รับ
      การเรียนการสอนวันนี้อาจารย์ได้พูดคุย อธิบายเกี่ยวกับสื่อทางคณิตศาสตร์และการออกแบบสื่อการเรียนการสอนที่เหมาะกับเด็กปฐมวัย แล้วให้นักศึกษาจับกลุ่ม 2-3 คน ภายในกลุ่มช่วยกันคิดออกแบบสื่อการสอนทางคณิตศาสตร์ กลุ่มของฉันได้คิด สื่อความสัมพันธ์สองแก่น



สาระมาตราฐานทางคณิตศาสตร์





1.จำนวนและการดำเนินการ
2.การวัด
3.เรขาคณิต
4.พีชคณิต
5.การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
6.ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

ประสาทสัมผัสทั้ง5 เป็นการทำงานที่สัมพันธ์กับการทำงานของสมอง
ความรู้ สมอง ซึมซับ+รับรู้ วิเคราะห์ เกิดเป็นโครงสร้างความรู้ใหม่

          เมื่อเด็กเกิดการเรียนรู้จะทำให้เด็กเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเด็ก แต่ถ้าเด็กไม่มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม แสดงว่าเด็กแค่ รับรู้ ไม่ใช่เกิดการเรียนรู้ 


        สรุป

เด็กเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม  เกิดการเรียนรู้
เด็กไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม  เด็กแค่รับรู้         





 ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์








พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น ดังนี้

     1. ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage) แรกเกิด - 2 ปี
พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่ เช่น การไขว่คว้า การเคลื่อนไหว การมอง การดู ในวัยนี้เด็กแสดงออกทางด้านร่างกายให้เห็นว่ามีสติปัญญาด้วยการกระทำ เด็กสามารถแก้ปัญหาได้ แม้ว่าจะไม่สามารถอธิบายได้ด้วยคำพูด

     2. ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage) อายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2 ขั้น คือ

ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thought) อายุ 2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น แต่เหตุผลของเด็กวัยนี้ยังมีขอบเขตจำกัดอยู่ เพราะเด็กยังคงยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง คือถือความคิดตนเองเป็นใหญ่ และมองไม่เห็นเหตุผลของผู้อื่น

ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล (Intuitive Thought)  อายุ 4-7 ปี ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รวมตัวดีขึ้น รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของวัตถุ เข้าใจความหมายของจำนวนเลข เริ่มมีพัฒนาการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ แต่ไม่แจ่มชัดนัก

     3. ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage) อายุ 7-11 ปี พัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้สามารถสร้างกฎเกณฑ์และตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้ เด็กวัยนี้สามารถที่จะเข้าใจเหตุผล รู้จักการแก้ปัญหาสิ่งต่างๆ ที่เป็นรูปธรรมได้

     4. ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage) อายุ 11-15 ปี ในขั้นนี้พัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้เป็นขั้นสุดยอด คือเด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่ ความคิดแบบเด็กจะสิ้นสุดลง เด็กจะสามารถที่จะคิดหาเหตุผลนอกเหนือไปจากข้อมูลที่มีอยู่

หลักพัฒนาการตามแนวคิด

       เพียเจต์ ให้ชื่อการพัฒนาการของเด็กวัยรุ่นหรือวัยมัธยมศึกษาว่า Formal Operation สามารถคิดได้แบบผู้ใหญ่ คือ
       -      คิดในสิ่งที่เป็นนามธรรมได้       
       -      มีความสนใจในปรัชญาชีวิต ศาสนา อาชีพ
       -      สามารถใช้เหตุผลเป็นหลักในการตัดสินใจ
       -      สามารถคิดเหตุผลได้ทั้งอนุมานและอุปมาน
       -      มีหลักการในการให้เหตุผลของตนเอง เกี่ยวกับความยุติธรรม เสมอภาคและมีมนุษยธรรม


คำศัพท์ภาษาอังกฤษ
1.      Assimilation                     การซึมซับหรือการดูดซึม
2.      Equilibration                    ความสมดุล
3.      Recreation                       การเล่น
4.      Learning                          การเรียนรู้
5.      Conservation                   การอนุรักษ์
6.      Opposition                       สิ่งตรงกันข้าม
7.      Function                           การกระทำ
8.      Accommodation              การจัดระบบ
9.      Behavior                          พฤติกรรม
10. Metamorphism                 การเปลี่ยนแปลง


การประเมิน
ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังที่อาจารย์ และตอบคำถาม
ประเมินเพื่อน : ช่วยเหลือกัน ร่วมแสดงความคิดเห็น
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ได้อธิบายและทำให้เข้าใจมากขึ้น












บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6


วันศุกร์ ที่   22  กุมภาพันธ์ 2562
เวลา 12:30-16:30
รหัสวิชา  EAED2203 การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


ความรู้ที่ได้รับ

       คาบเรียนนี้อาจารย์ให้แต่ล่ะกลุ่มออกมานำเสนอ Mind Mapping หัวข้อ การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ องค์ประกอบได้แก่ กิจกรรม สื่อ เทคนิค ซึ่งอาจารย์ได้อธิบายความรู้เพิ่มเติม บอกรายละเอียดที่ทำให้รู้ลึกมากขึ้น ได้เรียนรู้เรื่องรูปทรงเรขาคณิต 2 และ 3 มิติ ในการออกแบบด้วยความคิดของตนเอง
กิจกรรมแสดงการนำเสนอ เมื่ออกมาพรีเซ้นงานสิ่งแรกควรแนะนำตัว โดยมีตัวแทนผู้พูด


กิจกรรม :กิจกรรมที่นำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน เช่น กิจกรรมสร้างเสริมประสบการณ์ กิจกรรมเสรี กิจกรรมกลางแจ้ง

สื่อ : เกมการศึกษา ได้แก่ โดมิโน พอตโต จับคู่ เรียงลำดับเหตุการณ์ การจัดหมวดหมู่ฯลฯ
นิทาน เพลง การ์ตูน ของเล่น

เทคนิค : สิ่งที่ทำให้กิจกรรมทำออกมาได้ง่ายขึ้น คือ กระบวนการในกิจกรรมการนำเกม นิทานมาช่วยในการสอนให้เด็กมีความสนใจ สนุกมากขึ้น
การเรียนการสอนที่ดี ควรปล่อยให้เด็กได้ลงมือทำด้วยตนเองก่อน ให้เขาได้ลองผิดลองถูกและลองหาคำตอบด้วยตอนเองก่อน


ออกแบบรูปทรงเรขาคณิต 2 มิติ
ออกแบบรูปทรงเรขาคณิต 3 มิติ







อุปกรณ์ที่ใช้
ดินน้ำมัน
ไม้จิ้มฟัน
กะดาษเทาขาว กว้าง4 ยาว 4



ทำป้ายชื่อ

          กิจกรรมนี้ก็เปรียบเสมือนว่าเราเป็นคุณครูและทำป้ายชื่อให้กับเด็ก โดยการมีป้ายชื่อนั้น สามารถสอนคณิตศาตร์เด็กได้มากมาย ซึ่งจะเป็นในรูปแบบของการ สำรวจการมาเรียนของนักเรียน
ตัวอย่างเช่น



          การทำป้ายชื่อให้เด็กนักเรียนทุกคน และภานในห้องเรียน จะมีที่ติดป้ายชื่อ เมื่อเด็กมาถึงห้องเรียนแล้วก็ในนำป้ายชื่อของตนเองมีติดไว้ โดยเด็กผู้ชายจะเป็นที่ติดสีฟ้า นักเรียนหญิงเป็นสีชมพู ส่วนการสอนคณิตศาสตร์จากป้ายชื่อนั้น ก็จะเป็นการให้เด็กๆได้เปรียบเทียบจำนวนว่าเด็กผู้หญิงหรือผู้ชายมาเยอะกว่ากัน เด็กๆม่เรียนกันกี่คน ขาดกี่คน ก็จะเป็นในเรื่องของดาร บวก ลบ เลข และการนับจำนวน


คำศัพท์ภาษาอังกฤษ


1.clay                   ดินน้ำมัน
2.Toothpick              ไม้จิ้มฟัน
3.Geometry               รูปทรงเรขาคณิต
4.Experience activities  กิจกรรมเสริมประสบการณ์
5.Educational games      เกมการศึกษา
6. Activities         กิจกกรม
7. Media              สื่อ
8. Technique        เทคนิค
9. Present            นำเสนอ
10. Name tag        ป้ายชื่อ


การประเมิน

ประเมินตนเอง : ตั้งใจ มีความกล้าที่จะแสดงความคิดเห็นหรือตอบคำถามได้มีความคิดต่อตนเองในการทำรูปเรขาคณิต
ประเมินเพื่อนในห้อง : เพื่อนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่อเพื่อนๆและอาจารย์ ตั้งใจพร้อมกับมีความสนุกสนานในการเรียน
ประเมินอาจารย์ :  อาจารย์พูดคุยแบบเป็นกันเอง อธิบายเนื้อหาได้เข้าใจ มีความรู้เพิ่มเติมให้นักศึกษาได้คิดอยู่เสมอ