วันอังคารที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2562




บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7



วันศุกร์ ที่   8 มีนาคม 2562
 เวลา 12:30-16:30
 รหัสวิชา  EAED2203 การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย





ความรู้ที่ได้รับ
      การเรียนการสอนวันนี้อาจารย์ได้พูดคุย อธิบายเกี่ยวกับสื่อทางคณิตศาสตร์และการออกแบบสื่อการเรียนการสอนที่เหมาะกับเด็กปฐมวัย แล้วให้นักศึกษาจับกลุ่ม 2-3 คน ภายในกลุ่มช่วยกันคิดออกแบบสื่อการสอนทางคณิตศาสตร์ กลุ่มของฉันได้คิด สื่อความสัมพันธ์สองแก่น



สาระมาตราฐานทางคณิตศาสตร์





1.จำนวนและการดำเนินการ
2.การวัด
3.เรขาคณิต
4.พีชคณิต
5.การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
6.ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

ประสาทสัมผัสทั้ง5 เป็นการทำงานที่สัมพันธ์กับการทำงานของสมอง
ความรู้ สมอง ซึมซับ+รับรู้ วิเคราะห์ เกิดเป็นโครงสร้างความรู้ใหม่

          เมื่อเด็กเกิดการเรียนรู้จะทำให้เด็กเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเด็ก แต่ถ้าเด็กไม่มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม แสดงว่าเด็กแค่ รับรู้ ไม่ใช่เกิดการเรียนรู้ 


        สรุป

เด็กเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม  เกิดการเรียนรู้
เด็กไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม  เด็กแค่รับรู้         





 ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์








พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น ดังนี้

     1. ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage) แรกเกิด - 2 ปี
พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่ เช่น การไขว่คว้า การเคลื่อนไหว การมอง การดู ในวัยนี้เด็กแสดงออกทางด้านร่างกายให้เห็นว่ามีสติปัญญาด้วยการกระทำ เด็กสามารถแก้ปัญหาได้ แม้ว่าจะไม่สามารถอธิบายได้ด้วยคำพูด

     2. ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage) อายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2 ขั้น คือ

ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thought) อายุ 2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น แต่เหตุผลของเด็กวัยนี้ยังมีขอบเขตจำกัดอยู่ เพราะเด็กยังคงยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง คือถือความคิดตนเองเป็นใหญ่ และมองไม่เห็นเหตุผลของผู้อื่น

ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล (Intuitive Thought)  อายุ 4-7 ปี ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รวมตัวดีขึ้น รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของวัตถุ เข้าใจความหมายของจำนวนเลข เริ่มมีพัฒนาการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ แต่ไม่แจ่มชัดนัก

     3. ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage) อายุ 7-11 ปี พัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้สามารถสร้างกฎเกณฑ์และตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้ เด็กวัยนี้สามารถที่จะเข้าใจเหตุผล รู้จักการแก้ปัญหาสิ่งต่างๆ ที่เป็นรูปธรรมได้

     4. ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage) อายุ 11-15 ปี ในขั้นนี้พัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้เป็นขั้นสุดยอด คือเด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่ ความคิดแบบเด็กจะสิ้นสุดลง เด็กจะสามารถที่จะคิดหาเหตุผลนอกเหนือไปจากข้อมูลที่มีอยู่

หลักพัฒนาการตามแนวคิด

       เพียเจต์ ให้ชื่อการพัฒนาการของเด็กวัยรุ่นหรือวัยมัธยมศึกษาว่า Formal Operation สามารถคิดได้แบบผู้ใหญ่ คือ
       -      คิดในสิ่งที่เป็นนามธรรมได้       
       -      มีความสนใจในปรัชญาชีวิต ศาสนา อาชีพ
       -      สามารถใช้เหตุผลเป็นหลักในการตัดสินใจ
       -      สามารถคิดเหตุผลได้ทั้งอนุมานและอุปมาน
       -      มีหลักการในการให้เหตุผลของตนเอง เกี่ยวกับความยุติธรรม เสมอภาคและมีมนุษยธรรม


คำศัพท์ภาษาอังกฤษ
1.      Assimilation                     การซึมซับหรือการดูดซึม
2.      Equilibration                    ความสมดุล
3.      Recreation                       การเล่น
4.      Learning                          การเรียนรู้
5.      Conservation                   การอนุรักษ์
6.      Opposition                       สิ่งตรงกันข้าม
7.      Function                           การกระทำ
8.      Accommodation              การจัดระบบ
9.      Behavior                          พฤติกรรม
10. Metamorphism                 การเปลี่ยนแปลง


การประเมิน
ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังที่อาจารย์ และตอบคำถาม
ประเมินเพื่อน : ช่วยเหลือกัน ร่วมแสดงความคิดเห็น
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ได้อธิบายและทำให้เข้าใจมากขึ้น






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น